ในที่สุดก็อ่านมุซาชิฉบับท่าพระจันทร์จบแล้ว
หลังจากอ่านส่วนเนื้อหาจบหมด และอ่านภาคผนวกไปแค่นิดหน่อย เราก็ได้ข้อสรุปว่านิยายฉบับนี้น่าจะแต้มสีให้กับชีวิตของมิยาโมโตะ มุซาชิมากทีเดียว แน่นอนว่าฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นคงต้องใส่สียิ่งกว่า ส่วนมังงะอย่างวากาบอนด์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เล่นซะโคจิโร่เป็นใบ้หูหนวกไปเลยจ้า
ในฐานะคนที่ชอบอ่านเรื่องราวในประวัติศาสตร์
การไม่เชื่อในเรื่องราวที่ได้อ่านไปซะทั้งหมดเป็นคติพื้นฐานเลยนะ
จริงอยู่ว่าเราอาจมีบันทึกในประวัติศาสตร์ มีหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอัน จับต้องได้ วิเคราะห์ได้
แต่สุดท้ายคนที่จะสรุปเรื่องราวออกมาก็คือคนรุ่นหลังอยู่ดี
และยิ่งไปกว่านั้น บางทีมันก็ยากจะเชื่อว่าเรื่องราวในบันทึกเป็นเรื่องจริงทั้งหมดด้วย
ดังนั้นเวลาเสพเรื่องราวที่เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ก็ต้องแยกแยะให้ได้ด้วย
ว่าเราควรเชื่ออะไร ไม่ควรเชื่ออะไร
เราว่านี่เป็นความสะเทือนใจอย่างนึงสำหรับคนชอบประวัติศาสตร์
เพราะสุดท้ายเราก็ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าอะไรจริงไม่จริงบ้าง
มิยาโมโตะ มุซาชิ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์
แต่พออ่านนิยายที่เล่าจากมุมมองของตัวมุซาชิเองแล้ว
ต้องท่องไว้ตลอดว่านี่มันนิยาย ตัวมุซาชิจริงๆก็อาจไม่ใช่แบบนี้เลยก็ได้
ยิ่งถ้ามุซาชิรักสันโดด ชอบหลีกเร้นไปจากสังคมจริงๆล่ะก็
แต่ละอย่างที่เล่ามายิ่งไม่ควรเชื่อไปกันใหญ่
ดังนั้นหลังจากอ่านนิยายเล่มนี้จบแล้ว
ความรู้สึกที่ได้จึงเป็นความประทับใจในตัวมุซาชิที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา
ไม่ใช่ความประทับใจในตัวมุซาชิที่เคยดำรงอยู่จริงบนโลกใบนี้
ชีวิตของมุซาชิน่าสนใจมาก
โดยเฉพาะตรงที่ว่า ทำไมชายคนนี้ถึงแสวงหาทางหลุดพ้นบนเส้นทางของการทำลายล้าง ที่ผ่านมาเคยรับรู้เรื่องราวของซามูไรมาบ้าง ส่วนใหญ่ผ่านทางการ์ตูนญี่ปุ่นทั้งนั้น แต่ไม่เคยมีซามูไรคนไหนใช้ดาบเป็นเครื่องมือแสวงหาทางหลุดพ้นอย่างที่มุซาชิทำเลยซักคน
มุซาชิจึงไม่ได้เป็นแค่นักดาบ แต่ยังเป็นนักคิดด้วย
หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นวิธีคิดของมุซาชิ(อย่าลืมว่าเป็นมุซาชิที่ถูกเสกสรรค์ปั้นแต่งขึ้นมาอีกที)ได้ดี ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมตัวต้นฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นถึงทำให้มุซาชิกลายเป็นที่นิยมชมชอบของคนญี่ปุ่นนักหนา แต่ถ้าอยากเข้าใจมุซาชิจริงๆไม่อิงนิยาย อ่านคัมภีร์ห้าห่วงที่มุซาชิเขียนไว้น่าจะเข้าท่ากว่า เพราะจะได้รู้จักมุซาชิจากงานเขียนของเจ้าตัวโดยตรง
ไม่พูดถึงถ้อยคำสำนวนและวิธีการเขียนละกัน เพราะบางส่วนก็ออกจะประหลาดอยู่บ้าง
แต่ไม่พิลึกจนน่าหงุดหงิดรำคาญในขณะอ่านแต่อย่างใด
ในแง่ความเป็นนิยาย รู้สึกว่าเป็นนิยายที่โคตรจะเมโลดราม่า
มุซาชิก็ประเสริฐเสียเหลือเกิน ป้าโอสุงิกับโคจิโร่ก็ร้ายกันจัง
และสุดท้ายตัวร้ายคนนึงกลับใจ อีกคนก็ตาย
แหม จบยังกะละครไทย (แต่โทษคนแต่งไม่ได้หรอก ก็ประวัติศาสตร์เขาว่าไว้ยังงี้)
และที่อดคิดไม่ได้คือทำไมตอนมุซาชิอยู่กับอิโอริมันช่างดูเป็นพระ-นางเหลือเกิน
สวีทยิ่งกว่าตอนอยู่กับโอซืออีก
ขออภัยค่ะคุณมุซาชิตัวจริง แต่ข้าพเจ้าเผลอคิดไปแล้วว่าท่านกับลูกศิษย์อาจมีซัมติงวรองรักต้องห้ามระหว่างสองเรา (โอ้ว ว้าว แบบนี้ก็ดูซี้ดซ้าดดีนะ)
จะว่าไปแล้วเรารู้สึกว่าเอาคนในประวัติศาสตร์มาเที่ยวจิ้นวายกันนี่มันไม่เหมาะไม่ควรเท่าไหร่ แต่คิดๆดูขนาดคนญี่ปุ่นเองยังเขียนการ์ตูนวายอิงประวัติศาสตร์ออกมาตั้งมากมายก่ายกอง
เคยอ่านเรื่องนึงเป็นเบงเคxโยชิสึเนะ
ที่ร้ายไปกว่านั้นคือดันมีโยริโตโมะxโยชิสึเนะด้วย!
แม่เจ้า!! นี่พี่น้องนะเว้ย!! (เรื่องนี้มีมาก่อนเทรนด์ค้ำคอร์จะมาแรงอีกนะเออ)
และถ้าจะวิเคราะห์เรื่องนี้อย่างจริงจัง เราก็ไปหาว่าเค้าจิ้นกันไปเรื่อยเปื่อยไม่ได้อยู่ดี ดูอย่างคู่ท่านโอดะกับรันมารุสิ ความสัมพันธ์ออกจะคลุมเครือจนคนรุ่นหลังได้แต่สับสนงงงวยว่าตกลงสองคนนี้คบกันแบบไหน? เราจิ้นกันไปเองหรือไม่? และการที่ขุนนางเก็บเด็กชายมาชุบเลี้ยงไว้ด้วยจุดประสงค์ซ่อนเร้นบางอย่างก็ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับสังคมญี่ปุ่นในอดีตแต่อย่างใด ไม่ใช่หรือ? (ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นหรอก ย้อนไปถึงกรีกยังได้เลย เรื่องเกย์ๆเนี่ย)
เฮ้ย แล้วทำไมจากเรื่องมุซาชิกลายมาเป็นเรื่องนี้ไปได้ ( ̄□ ̄|||)
กลับมาสรุปเรื่องมุซาชิ
ก็เป็นหนังสือที่ดีนะ แต่ไม่รู้ว่าทำไมถึงแปะป้ายไว้ว่าเป็นหนังสือดีที่นิสิตเอกญี่ปุ่นควรอ่าน
คือ ทำไมมันถึงเหมาะกับเอกญี่ปุ่น? ใช้เกณฑ์อะไรพิจารณาเนี่ย
อ่านแล้วก็ได้ความรู้เรื่องศิลปะวัฒนธรรมญี่ปุ่น บวกกับความรู้เชิงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นด้วยน่ะนะ
แต่ส่วนที่ดีที่สุดในหนังสือเล่มนี้อยู่ที่แนวคิดทั้งหลายทั้งปวงของมุซาชิมากกว่า
ดังนั้นถึงจะอยู่เอกญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม ถ้าอ่านหนังสือเล่มนี้ก็คงได้ซึมซับอะไรกันบ้างแน่นอน
อืม แต่คิดไปคิดมา
ก็คงอารมณ์เหมือนคนเรียนเอกอังกฤษควรจะเรียน Mythology เอาไว้ล่ะมั้ง
จะว่าไปแล้ว อยากอ่านนิยายที่เล่าประวัติโอดะ โนบุนากะแบบนี้บ้างจัง
เคยเห็นแต่เวอร์ชั่นที่ผ่านกระบวนการ fantasize มาเรียบร้อยแล้ว
จนกลายเป็นไดเมียวโลภโมโทสัน ทำได้ทุกอย่างเพื่อเป้าหมายโดยไม่เลือกวิธีการ
หรือไม่ก็กลายเป็นปีศาจกระหายเลือด พร้อมจะฆ่าทุกชีวิตที่ขวางหน้า
น่าสงสัยจริงว่าทำไมถึงถูกนำเสนอออกมาแบบนี้อยู่เรื่อย
พวกตัวร้ายในประวัติศาสตร์นี่แหละน่าสนใจนักแล เหมือนท่านเชซาเรย์ไง
มุซาชิเล่มนี้เราเคยอ่านไปเมื่อนานมากกกกกมาแล้วอ่ะ จำอะไรไม่ได้แล้ว ไม่คอมเมนท์ละกัน
แต่เรื่องโชกุนกับเด็กหนุ่มนี่ เคยอ่านเจอว่าพิพิธภัณฑ์ที่นึงในญี่ปุ่น มีจดหมายรักที่ไดเมียวคนนึงเขียนหาแฟนหนุ่มจัดแสดงด้วยนะ (- -)
ประวัติโนบุนากะ เคยอ่านแต่แบบเป็นประวัติจริงๆจังๆเลยอ่ะ ไม่ใช่นิยาย เราว่าประวัติเค้าก็ธรรมดานะ จากชาวนามาเป็นนักรบรึอะไรประมาณเนี้ย (ใช่โนบุนากะป้ะเนี่ย หรือเราจำผิดคน? แต่มีคนนึงเคยเป็นชาวนามาก่อนแน่ๆอ่ะ) เพราะมันดูธรรมดาเกินไปคนลยเอามาแต่งเติมรึเปล่า ประมาณว่า จากชาวนามาเป็นนักรบได้ไง มันต้องมีเล่ห์เพทุบายเบื้องหลังแหงๆ ทำนองนั้น
สุดท้าย ไม่ค่อยเกี่ยวกะเอนทรีนี้แต่อยากแนะนำเรื่องพันหนึ่งราตรีเวอร์ชั่นเกาหลี เล่มสีแดงๆอ่ะ ไม่รู้เตเคยอ่านรึเปล่า เป็นการเอาเรื่องต่างๆในประวัติศาสตร์มั่งเรื่องเล่ามั่งมามองต่างมุมอ้ะ สนุกดีเหมือนกัน
LikeLike
ตายละ เรื่องสัมพันธ์รักระหว่างขุนนางนักรบกับเด็กหนุ่มเนี่ยน่าสนใจจริงๆนั่นแหละ เอาไว้ไปเขียน Study plan เวลาจะขอทุนดีมั้ยเนี่ย ฮ่าๆ
ตระกูลโอดะนี่รู้สึกจะเป็นเจ้าเมืองมาก่อนรุ่นโนบุนากะแล้วนะ แต่เราก็ไม่สันทัดประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเท่าไหร่ เรื่องนี้เลยไม่แน่ใจเหมือนกัน เวลาเห็นในเกมหรือการ์ตูนก็มีแต่โนบุนากะช่วงก่อนจะถูกฆ่าแล้วทั้งนั้น =_=
พันหนึ่งราตรีเคยเวอร์ชั่นที่ว่า เคยเห็นนะแต่ไม่เคยอ่าน (เห็นแถวๆชั้นการ์ตูนวายนั่นแหละ ฮุ)
LikeLike